ดูแลสมองไว้ ห่างไกลโรค
รู้หรือไม่ คนไทยยุคไวไฟป่วยเป็นโรคระบบประสาทและสมองกันมากขึ้น ทั้งโรคทางเส้นประสาท โรคกล้ามเนื้อและโรค หลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิต โรคเหล่านี้แม้ว่าจะร้ายแรงแต่หากดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้
ดูแลสมองไว้ ห่างไกลโรค thaihealth
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดี กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า คนไทยป่วยด้วยโรคระบบประสาทเพิ่มขึ้น จากสถิติสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ พบว่าโรคระบบประสาทที่พบมากที่สุดในปี 2557 คือโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 24,399 ราย โรคทาง เส้นประสาท จำนวน 17,319 รายและโรคกล้ามเนื้อ จำนวน 13,445 ราย ตามลำดับ "สมองและระบบประสาทเป็นอวัยวะที่มีความความสำคัญ เนื่องจากสมองเป็นศูนย์รวมของระบบประสาทที่ควบคุมกลไกต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานร่วมกันควบคุมความคิด ความจำ และการเรียนรู้ ตอบสนองด้วยการสั่งงานไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสมองหรือระบบประสาท ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้"
โรคระบบประสาทที่พบบ่อย คือโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไปมักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และผู้สูบบุหรี่จัด อาการคือ แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีกหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัว ปวดศีรษะเฉียบพลัน หากมีอาการควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด สำหรับแนวทางลดความเสี่ยงโรค คือรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารรสเค็มจัด ไขมันสูง ควบคุมความดันโลหิต ไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โรคทางเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทคอ เกิดจากการถูกกดเบียดหรือการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวตามรากประสาท เช่นปวดต้นคอร้าวไปที่สะบัก ไหล่ ชาแขน กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจมี การรับความรู้สึกสัมผัสเพี้ยนจากการที่เลือดไปเลี้ยง รากประสาทลดลง การป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่คอ เช่น การเคลื่อนไหวที่รุนแรงบริเวณคอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือกีฬาที่มีการปะทะรุนแรง รวมไปถึงระวังอุบัติเหตุจากการขับยานพาหนะ เป็นต้น
โรคกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังคด ออกมาจากแนวกระดูกสันหลังจนไปเบียดทับกับ เส้นประสาทรอบๆ แนวกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง การดูแลเบื้องต้นผู้ป่วยควรฝึกใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันให้ ถูกวิธี หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ เลี่ยงการยกของหนัก งดการสูบบุรี่ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลง ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้อง จะสามารถบรรเทาอาการของโรคได้
นายแพทย์อุดม ภู่วโรดม ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะมาก อาเจียน และชาตามมือตามเท้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบไปแพทย์ทันที นอกจากนี้ควรมีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะมี ผลกระทบบริเวณศีรษะและไขสันหลัง เพราะอาจทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ทานผักที่บำรุงสายตา ไม่อ่านหนังสือในที่มืด พักผ่อนให้เพียงพอ
ที่สำคัญคือมีการผ่อนคลายความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เดินเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว จะป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคดังกล่าวได้
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.thaihealth.or.th/Content/29106-%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%20%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84.html
Relate topics
- แนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- คู่มือการใช้งาน Hosoffice
- คู่มือการใช้งานโปรแกรม HRMS
- อาการผิดปกติทางจิต ไม่ได้หมายถึงโรคจิตเสมอไป
- มาตราฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
- ‘สารพิษ’ ภัยร้ายต่อจิต
- คุณรู้จัก `ออร์แกนิก` ดีแค่ไหน?
- รู้ได้อย่างไรว่าลูกเสพยาเสพติด
- ต้นอ่อนทานตะวัน แหล่งสารอาหารสุขภาพ
- ข้อควรรู้ คุุณและโทษของ ‘เมือกหอยทาก’