สึนามิ คลื่นยักษ์ ภัยใต้น้ำ
แผ่นดินไหว(Earthquake) และซูนามิคลื่นใต้น้ำ
แผ่นดินไหวสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว มาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
1.การกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการระเบิดต่างๆ การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น
2.เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลกหรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น
แผ่นดินไหวจำแนกตามลักษณะต่างๆได้ 3 ชนิด
1.จำแนกตามสาเหตุการเกิดภายในโลก(mode generation)มี 4 แบบ คือ
1.1 แผ่นดินไหวเนื่องจากแผ่นเปลือกโลก(tectinic earthquakes)
1.2 แผ่นดินไหวเนื่องจากภูเขาไฟ (volcanic earthquakes)
1.3 แผ่นดินไหวเนื่องจากการถล่ม(collapse earthquakes)
1.4 แผ่นดินไหวเนื่องจากการระเบิด(explosion earthquakes)โดยมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินหรือการระเบิดอื่นๆ
2.จำแนกตามลักษณะแหล่งที่เกิด มี 2 แบบคือ
2.1 แบ่งตามความลึกจุดเกิดแผ่นดินไหว(focal depth)มี 3 ระดับคือ
2.1.1แผ่นดินไหวตื้น(shallow earthquakes) ลึก 0 - 70 กิโลเมตร
2.1.2แผ่นดินไหวลึกปานกลาง(intermediate earthquakes)ลึก 70-300 กิโลเมตร
2.1.3แผ่นดินไหวลึก(deep earthquakes)ลึก 300-700 กิโลเมตร
2.2 แบ่งตามระยะทางห่างจุดเกิดแผ่นดินไหว(epicenter distance)มี 3 ระยะคือ
2.2.1แผ่นดินไหวใกล้(local earthquakes)ห่างจากสถานีตรวจ 0-100 กิโลเมตร
2.2.2แผ่นดินไหวไกล(distant earthquakes)ห่างจากสถานีตรวจ 100-1,000 กิโลเมตร
2.2.3แผ่นดินไหวไกลมาก(teleseism)ห่างจากสถานีตรวจมากกว่า 1,000 กิโลเมตร
3.แบ่งตามขนาด(magnitude)มี 5 ขนาดคือ
3.1 แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก(Micro earthquakes)มีขนาด 2.0-3.4 ริคเตอร์(Richter)
3.2 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก(Small earthquakes)มีขนาด 3.5-4.8 ริคเตอร์
3.3 แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง(Minor or moderate earthquakes)มีขนาด 4.9-6.1 ริคเตอร์
3.4 แผ่นดินไหวขนาดใหญ่(Major earthquakes)มีขนาด 6.2-7.3 ริคเตอร์
3.5 แผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก(Great earthquakes)มีขนาดมากกว่า 7.3 ริคเตอร์
แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นจาก
1.แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทยโดยมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า สาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ส่วนมากบริเวณที่รู้สึกสั่นไหวได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และกรุงเทพฯ
2.แผ่นดินไหวเกิดจากแนวรอยเลื่อนที่ยังสามารถเคลื่อนตัว ซึ่งอยู่บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมยอุทัยธานี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนคลองมะรุย(พังงา) เป็นต้น
บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่
1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตกของประเทศไทย
2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะนานๆบริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก
3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น
องค์ประกอบที่ทำใให้บางบริเวณมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรืออาจได้รับความเสียหายมากกว่าบริเวณอื่น ได้แก่
1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
2. บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว
3. ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หากเป็นเวลาที่เหมาะสม บางครั้งในบริเวณหนึ่งแผ่นดินไหวเกิดในเวลากลางวันจะทำความเสียหายมาก แต่บางบริเวณแผ่นดินไหวที่เกิดในเวลากลางคืน อาจทำความเสียหายมากกว่า ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมหรือการอยู่อาศัยของมนุษย์ในช่วงนั้นๆ
4. มีการวางแผน และประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องมาตรการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวของบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
5. ตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือนมีสภาพทางธรณีวิทยาเป็นเช่นไร
6. ความยาวนานของการสั่นไหว ถ้ายิ่งมีช่วงเวลามาก ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมาก
7. ความลึกของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดลึกๆจะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่าแผ่นดินไหวตื้น
8. ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จะมีผลต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตรง หรือรับแรงในทิสทางของการเคลื่อนตัว
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง ตั้งแต่ 5.0 ริคเตอร์ ขึ้นไป มักจะเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีกซึ่งเรียกว่า After Shock แต่ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมักจะลดลง
**ริคเตอร์เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งค้นคิดวิธีคำนวณขนาดแผ่นดินไหวเป็นคนแรก ดังนั้นเพื่อให้เป็นเกียรติจึงเรียกหน่วยของขนาดแผ่นดินไหว ว่า "ริคเตอร์"
**ขนาดแผ่นดินไหว(Magnitude)เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า"ศูนย์กลางแผ่นดินไหว"ขนาดแผ่นดินไหวในทางทฤษฎีไม่มีขีดจำกัด แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์
** เมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ประชาชนควรปฏิบัติตนดังนี้
เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใ ห้อยู่อย่างสงบ มีสติ คิดหาหนทางที่ปลอดภัยหมอบอยู่บริเวณที่ป้องกันสิ่งของหล่นใส่ เช่น บริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากหน้าต่าง หากอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากสิ่งห้อยแขวนต่างๆปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น
**ทฤษฎีการคืนตัว(The Elastic Rebound Theory) โดย รีด(H.F.Reid;อเมริกัน)นักธรณีวิทยาอธิบายว่า แผ่นเปลือกโลกบริเวณแนวรอยเลื่อนมีการเคลื่อนที่เบียดตัวกันทำให้เกิดการยืดตัวและเกิดแรงเครียด(stress) มีความเค้น(strain) และสะสมพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ(อาจสังเกตได้จากการที่มีการแปรเปลี่ยนรูปทรงหรือปริมาตร มีการบิดงอ คดโต้งฯ)จนถึงระดับหนึ่งที่เสียสมดุล ก็จะเกิดการเคลื่อนหดตัวกลับอย่างฉับพลัน แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมหาศาลอันเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "แผ่นดินไหว"การหดตัวนี้ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนหนีไปจากจุดเดิมด้วย ถ้าหากว่าแผ่นดินไหวชนิดนี้เกิดขึ้นในพื้นสมุทร จะเป็นสาเหตุให้เกิดคลื่นยักษ์ชนิดที่เรียกกันว่า "คลื่นซูนามิ"(Tsumani)ได้ คลื่นซูนามิจะมีความสูงของคลื่นแตกต่างกันได้มากระหว่างไม่กี่เซ็นติเมตรจนเป็นหลายสิบเมตรได้ทีเดียว ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียบริเวณชายฝั่งอย่างมากมาย
แสดงการเกิดคลื่น"ซูนามิ"(จาก แผ่นดินไหว:ภูมิฟิสิกส์ )
Relate topics
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา กรมการแพทย์ ร่วมต้อนรับ ดร.นพ.กนก อุตวิชัย เข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา
- ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา รายการจ้างเหมาบริการประกอบและบริการอาหารผู้ป่วย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
- 1
- ประกาศเรื่องช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อ รพธ.สงขลา พ.ศ.2567
- รพธ.สงขลา ร่วมต้อนรับ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหาดใหญ่ (สกร.อำเภอหาดใหญ่) เข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา ต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน "สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสตูล"
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา ต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน “สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสตูล”
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา จัดโครงการให้ความรู้การวางแผนทางการเงิน (Digital Online Earn Money สร้างเงินด้วยสื่อออนไลน์)
- งดเยี่ยมทุกกรณี
- Co-Working Space3