จิตแพทย์ ชี้ เด็กกลัวข้าว เกิดจาก "โฟเบีย" แนะสร้างแรงจูงใจให้ชอบ

by cgduke1 @9-10-58 08.43 ( IP : 180...150 ) | Tags : สาระน่ารู้
photo  , 728x483 pixel , 72,008 bytes.

(6 ต.ค.58) พญ.อัมพร เบจพลพิทักษ์  ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีที่เด็กอายุ 3 ขวบ ที่ จ.แม่ฮ่องสอน กลัวข้าว และอาหารที่มีลักษณะเป็นเม็ด ว่า เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่าความกลัวของเด็กเกิดจากปัญหาเรื่องการเลี้ยงดู หรือเป็นโรคทางจิตเวช คือ โฟเบีย หรือโรคที่กลัวสิ่งต่างๆ โดยไม่มีเหตุผล แม้จะรู้ว่าไม่มีอันตรายแต่ก็ยังกลัวมาก กระสับกระส่าย อึดอัด และรู้สึกเป็นทุกข์อย่างมาก โดยที่ไม่สามารถห้ามความรู้สึกนี้ได้ อาทิ กลัวที่สูง กลัวความแคบ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็กโต จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของจิตใจ หรือสัมพันธ์กับการเลี้ยงดู ประสบการณ์อันเลวร้าย

พญ.อัมพร กล่าวว่า ถ้าเป็นเรื่องการเลี้ยงดู ตามหลักแล้วจะให้เด็กรับประทานนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่ 0-6 เดือน จากนั้นจะเริ่มให้อาหารอย่างอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารเหลวและเพิ่มความหยาบของอาหารเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเรื่องการบดเคี้ยวจนถึง 1 ขวบ ตรงนี้ก็ต้องดูอีกว่าเรื่องการบดเคี้ยวของเด็กมีปัญหาหรือไม่ เช่น มีแผลในช่องปาก การเคี้ยว การกลืนอาหารแล้วทำให้เจ็บปวด  แต่ผู้ปกครองอาจจะบังคับให้รับประทานต่อจนกลัวการรับประทานข้าว ลักษณะนี้จะเรียกว่าภาวะโฟเบียปลอม หรืออีกกรณีหนึ่งคือผู้ปกครองปล่อยให้เด็กรับประทานอาหารเหลว อ่อนนุ่ม ขนมกรุบกรอบ เป็นการก้าวกระโดดจากอาหารเหลวมาเป็นของที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

พญ.อัมพรกล่าวอีกว่า การแก้ไขคือต้องปรับพฤติกรรม โดยเริ่มจากการปรุงอาหารให้น่ารับประทาน ให้มีรสชาติที่เด็กชอบ แต่อย่าบังคับให้รับประทาน ควรเริ่มจากการรับประทานเพียงคำเดียว เล็กๆ แล้วชื่นชม รวมถึงการใช้การเล่น การเล่านิทานจูงใจ เช่น ยกเอาฮีโร่ที่เด็กชอบมาบอกเล่าว่าที่เก่ง และฉลาดอย่างนี้เป็นเพราะรับประทานข้าว นอกจากนี้ครอบครัวต้องรับประทานข้าวเป็นตัวอย่าง สร้างบรรยากาศเชิญชวน อย่างไรก็ตามถ้าเด็กเป็นโรคโฟเบียการแก้ไขปรับพฤติกรรมก็ต้องทำแบบเดียวกัน แต่ต้องเพิ่มความเข้มข้นโดยมีแพทย์

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล