ความรู้เรื่องยาเสพติด

by พริกหยวก @28-9-52 09.38 ( IP : 118...123 ) | Tags : กระทู้

๑. ความหมายของยาเสพติด
            ยาเสพติด  หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
            ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
                ๑.  เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
                ๒.  เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
                ๓.  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
                ๔.  สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง  ครอบครัว  ผู้อื่น  ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
            ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้



ฝิ่น
เอ๊กซ์ตาซี

                ๑.  แบ่งตามแหล่งที่เกิด  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท คือ
                    ๑.๑  ยาเสพติดธรรมชาติ  (Natural  Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น  ฝิ่น กระท่อม  กัญชา  เป็นต้น



เฮโรอีน
ยาบ้า

                    ๑.๒  ยาเสพติดสังเคราะห์  (Synthetic  Drugs)  คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี  เช่น เฮโรอีน  แอมเฟตามีน  เป็นต้น
                ๒.  แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
                    ๒.๑  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือยาบ้า  ยาอีหรือยาเลิฟ
                    ๒.๒  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้  แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์    และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  โคเคน หรือโคคาอีน  โคเคอีน  และเมทาโดน
                    ๒.๓  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๓  ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่  ๒  ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์  การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้  ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ  ที่มีตัวยาโคเคอีน  ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย  ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน  เพทิดีน  ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
                    ๒.๔  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๔  คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒  ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด  และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย  ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์  ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน  สารคลอซูไดอีเฟครีน  สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด  ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้



ผสมผสาน
เห็ดขี้ควาย

                    ๒.๕  ยาเสพติดให้โทษประเภทที่  ๕  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔  ได้แก่  ทุกส่วนของพืชกัญชา  ทุกส่วนของพืชกระท่อม  เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
                ๓.  แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
                    ๓.๑  ยาเสพติดประเภทกดประสาท  ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน  สารระเหย  และยากล่อมประสาท
                    ๓.๒  ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท  ได้แก่  แอมเฟตามีน  กระท่อม และ โคคาอีน
                    ๓.๓  ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท  ได้แก่  แอลเอสดี  ดีเอ็มพี  และ เห็ดขี้ควาย
                    ๓.๔  ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน    กล่าวคือ  อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน  ตัวอย่างเช่น  กัญชา
                ๔.  แบ่งตามองค์การอนามัยโลก  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  ๙  ประเภท คือ
                    ๔.๑  ประเภทฝิ่น  หรือ  มอร์ฟีน  รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน  ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน  เพทิดีน
                    ๔.๒  ประเภทยาปิทูเรท  รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่  เซโคบาร์ปิตาล  อะโมบาร์ปิตาล  พาราลดีไฮด์  เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
                    ๔.๓  ประเภทแอลกอฮอล  ได้แก่  เหล้า  เบียร์  วิสกี้
                    ๔.๔  ประเภทแอมเฟตามีน  ได้แก่  แอมเฟตามีน  เมทแอมเฟตามีน
                    ๔.๕  ประเภทโคเคน  ได้แก่  โคเคน  ใบโคคา
                    ๔.๖  ประเภทกัญชา  ได้แก่  ใบกัญชา  ยางกัญชา
                    ๔.๗  ประเภทใบกระท่อม
                    ๔.๘  ประเภทหลอนประสาท  ได้แก่ แอลเอสดี  ดีเอ็นที  เมสตาลีน  เมลัดมอนิ่งกลอรี่  ต้นลำโพง  เห็ดเมาบางชนิด
                    ๔.๙  ประเภทอื่น ๆ  นอกเหนือจาก  ๘  ประเภทข้างต้น  ได้แก่  สารระเหยต่าง ๆ  เช่น ทินเนอร์  เบนซิน  น้ำยาล้างเล็บ  ยาแก้ปวด  และบุหรี่
๓. วิธีการเสพยาเสพติด
            กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
                    ๓.๑  สอดใต้หนังตา
                    ๓.๒  สูบ
                    ๓.๓  ดม
                    ๓.๔  รับประทานเข้าไป
                    ๓.๕  อมไว้ใต้ลิ้น
                    ๓.๖  ฉีดเข้าเหงือก
                    ๓.๗  ฉีดเข้าเส้นเลือด
                    ๓.๘  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
                    ๓.๙  เหน็บทางทวารหนัก
๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย  ได้แก่
                    ๔.๑  ยาบ้า
                    ๔.๒  ยาอี  ยาเลิฟ  หรือ เอ็กซ์ตาซี
                    ๔.๓  ยาเค
                    ๔.๔  โคเคน
                    ๔.๕  เฮโรอีน
                    ๔.๖  กัญชา
                    ๔.๗  สารระเหย
                    ๔.๘  แอลเอสดี
                    ๔.๙  ฝิ่น
                    ๔.๑๐  มอร์ฟีน
                    ๔.๑๑  กระท่อม
                    ๔.๑๒  เห็ดขี้ควาย
๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด
            มีหลายประการ ดังนี้คือ
                    ๕.๑  อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์  โดยคิดว่า "ไม่ติด"  แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
                    ๕.๒  ถูกเพื่อนชักชวน  ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน  เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง  หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
                    ๕.๓  ถูกหลอกลวง  โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม  ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
                    ๕.๔  ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย  อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ  จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
                    ๕.๕  เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
                    ๕.๖  ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม  และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น  ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด  อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด
            การใช้ยาเสพติด  มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ  สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
๗. วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
              จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด  ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
                    ๗.๑  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จะสังเกตได้จาก
                        ๗.๑.๑  สุขภาพร่างกายทรุดโทรม  ซูบผอม  ไม่มีแรง  อ่อนเพลีย
                        ๗.๑.๒  ริมฝีปากเขียวคล้ำ  แห้ง  และแตก
                        ๗.๑.๓  ร่างกายสกปรก  เหงื่อออกมาก  กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
                        ๗.๑.๔  ผิวหนังหยาบกร้าน  เป็นแผลพุพอง  อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
                        ๗.๑.๕  มีรอยกรีดด้วยของมีคม  เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน  และ/หรือ ท้องแขน
                        ๗.๑.๖  ชอบใส่เสื้อแขนยาว  กางเกงขายาว  และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
                    ๗.๒  การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  ความประพฤติและบุคลิกภาพ  สังเกตุได้จาก
                        ๗.๒.๑  เป็นคนเจ้าอารมย์  หงุดหงิดง่าย  เอาแต่ใจตนเอง  ขาดเหตุผล
                        ๗.๒.๒  ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                        ๗.๒.๓  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
                        ๗.๒.๔  พูดจากร้าวร้าว  แม้แต่บิดามารดา  ครู อาจารย์  ของตนเอง
                        ๗.๒.๕  ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น  ทำตัวลึกลับ
                        ๗.๒.๖  ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
                        ๗.๒.๔  ใช้เงินเปลืองผิดปกติ  ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
                        ๗.๒.๕  พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด  เช่น  หลอดฉีดยา  เข็มฉีดยา  กระดาษตะกั่ว
                        ๗.๒.๖  มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
                        ๗.๒.๗  ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง  แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
                        ๗.๒.๘  ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ  และกลับบ้านผิดเวลา
                        ๗.๒.๙  ไม่ชอบทำงาน  เกียจคร้าน  ชอบนอนตื่นสาย
                        ๗.๒.๑๐  มีอาการวิตกกังวล  เศร้าซึม  สีหน้าหมองคล้ำ
                    ๗.๓  การสังเกตุอาการขาดยา  ดังต่อไปนี้
                        ๗.๓.๑  น้ำมูก  น้ำตาไหล หาวบ่อย
                        ๗.๓.๒  กระสับกระส่าย  กระวนกระวาย  หายใจถี่  ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด  อาจมีอุจาระเป็นเลือด
                        ๗.๓.๓  ขนลุก  เหงื่อออกมากผิดปกติ
                        ๗.๓.๔  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดเสียวในกระดูก
                        ๗.๓.๕  ม่านตาขยายโตขึ้น  ตาพร่าไม่สู้แดด
                        ๗.๓.๖  มีอาการสั่น  ชัก  เกร็ง  ไข้ขึ้นสูง  ความดันโลหิตสูง
                      ๗.๓.๗  เป็นตะคริว
                        ๗.๓.๘  นอนไม่หลับ
                        ๗.๓.๙  เพ้อ  คลุ้มคลั่ง  อาละวาด  ควบคุมตนเองไม่ได้
๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
            การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย  แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน
                    ๘.๑  การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป  ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง  สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
                    ๘.๒  การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
๙. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
            การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด  หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ  และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ  การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด  แบ่งออกเป็น ๓  ระบบคือ
                    ๙.๑  ระบบสมัครใจ  หมายถึง  ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
                    ๙.๒  ระบบต้องโทษ  หมายถึง  ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง  จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย  เช่น  ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ  กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง  กระทรวงยุติธรรม
                    ๙.๓  ระบบบังคับบำบัด  หมายถึง  ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม  พ.ร.บ.  ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๓๔  ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม  พ.ร.บ.  ดังกล่าว เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน  ๓  ปี  ระบบนี้ยังไม่เปิดใช้ในขณะนี้ การบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ
                    ๙.๑  ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา  (Pre - admission)  เพื่อศึกษาประวัติภูมิหลังของผู้ติดยาเสพติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
                    ๙.๒  ขั้นถอนพิษยา  (Detoxification)  เป็นการบำบัดรักษาอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด โดยผู้ขอรับการรักษา  สามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน ก็ได้ตามสดวก
                    ๙.๓  ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ  (Rehabilitation)  เป็นการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยน  ลักษณะนิสัย  บุคลิกภาพ  พฤติกรรม  เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบำบัดมีความเชื่อมั่นในการกลับไปดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำอีก
                    ๙.๔  ขั้นติดตามดูแล  (After - case)  เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบำบัดครบทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว  เพื่อให้คำแนะนำ  แก้ไขปัญหาและให้กำลังใจผู้เลิกยาเสพติด  ให้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคมได้ยิ่งขิ้น
๑๐. สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
            ผู้ติดยาเสพติด หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถขอรับการบำบัดรักษาได้ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ  ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน  ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้
            ๑.  ในเขตกรุงเทพมหานคร  สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข  สำนักอนามัย  กรุงเทพมหานคร  ได้แก่
                    โรงพยาบาล
                        ๑.๑  โรงพยาบาลราชวิถี  โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๐๐๕๒  ต่อ ๔๓๐๒
                        ๑.๒  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า  โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๑๔๐๐  ถึง  ๑๔๒๘  ต่อ  ๓๑๘๗
                        ๑.๓  โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ  โทร. ๐ - ๒๔๑๑ - ๒๔๑๙๑
                        ๑.๔  โรงพยาบาลนิติจิตเวช  โทร ๐ - ๒๔๔๑ - ๙๐๒๖ - ๙
                        ๑.๕  โรงพยาบาลตากสิน  โทร. ๐ - ๒๘๖๓ - ๑๓๗๑  ถึง ๒, ๐ - ๒๔๓๗ - ๐๑๒๓ ต่อ ๑๑๕๓,๑๒๔๘
                    คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม.
                        ๑.๖  คลินิกยาเสพติด ๑  ลุมพินี โทร.  ๐ - ๒๒๕๐ - ๐๒๘๖
                        ๑.๗  คลินิกยาเสพติด ๒  สี่พระยา โทร.  ๐ - ๒๒๓๖ - ๔๑๗๔
                        ๑.๘  คลินิกยาเสพติด ๓  บางอ้อ โทร.  ๐ - ๒๔๒๔-๖๙๓๓
                        ๑.๙  คลินิกยาเสพติด ๔  บางซื่อ โทร.  ๐ - ๒๕๘๗ - ๐๘๗๓
                        ๑.๑๐  คลินิกยาเสพติด ๕  ดินแดน โทร.  ๐ - ๒๒๔๕ - ๐๖๔๐
                        ๑.๑๑  คลินิกยาเสพติด ๖  วัดธาตุทอง โทร.  ๐ - ๒๓๙๑ - ๘๕๓๙
                        ๑.๑๒  คลินิกยาเสพติด ๗  สาธุประดิษฐ์ โทร.  ๐ - ๒๒๘๔ - ๓๒๔๔
                        ๑.๑๓  คลินิกยาเสพติด ๘  ซอยอ่อนนุช โทร.  ๐ - ๒๓๒๑ - ๒๕๖๖
                        ๑.๑๔  คลินิกยาเสพติด ๙  บางขุนเทียน โทร.  ๐ - ๒๔๖๘ - ๒๕๗๐
                        ๑.๑๕  คลินิกยาเสพติด ๑๐  สโมสรวัฒนธรรม  โทร.  ๐ - ๒๒๘๑ - ๙๗๓๐
                        ๑.๑๖  คลินิกยาเสพติด ๑๑  ลาดพร้าว โทร.  ๐ - ๒๕๑๓ - ๒๕๐๙
                        ๑.๑๗  คลินิกยาเสพติด ๑๒  วงศ์สว่าง โทร.  ๐ - ๒๕๘๕ - ๑๖๗๒
                        ๑.๑๘  คลินิกยาเสพติด ๑๓  ภาษีเจริญ โทร.  ๐ - ๒๔๑๓ - ๒๔๓๕
                        ๑.๑๙  คลินิกยาเสพติด ๑๔  คลองเตย โทร.  ๐ - ๒๒๔๙ - ๑๘๕๒
                        ๑.๒๐  คลินิกยาเสพติด ๑๕  วัดไผ่ตัน โทร.  ๐ - ๒๒๗๐ - ๑๙๘๕
            ๒.  ในส่วนภูมิภาค  ได้แก่
                    โรงพยาบาล
                        ๒.๑  โรงพยาบาลธัญญารักษ์  สายด่วนปรึกษาปัญหายาเสพติด โทร. ๐๒ - ๑๑๖๕ และ โทร. ๐ - ๒๕๓๑ - ๐๐๘๐ ถึง ๘
                        ๒.๒  โรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
                        ๒.๓  ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่  โทร. (๐๕๓) ๒๙๗ - ๙๗๖  ถึง  ๗
                        ๒.๔  ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  โทร. (๐๗๔) ๔๖๗ - ๔๕๓, (๐๗๔) ๔๖๗ - ๔๖๘
                        ๒.๕  ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  โทร. (๐๔๓) ๒๔๕ - ๓๖๖
                        ๒.๖  ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดแม่ฮ่องสอน  อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  โทร. (๐๕๓) ๖๑๒ - ๖๐๗
                        ๒.๗  ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  โทร. (๐๗๓) ๓๓๓ - ๒๙๑
            ๓. สถานพยาบาลที่ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
                        ๓.๑  สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บ้านพิชิตใจ  แขวงประเวศ  กทม.  โทร. ๐ - ๒๓๒๙ - ๑๓๕๓,  ๐ - ๒๓๒๙ - ๑๕๖๖
                        ๓.๒  ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คอมมูนิต้า  อินคอน  -  อำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี  โทร. ๐ - ๒๕๖๓ - ๑๐๐๖ - ๗, ๐๑ - ๒๑๓๒๕๐๕  -  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก  โทร. ๐๑ - ๙๓๗ - ๑๓๔๕  -  อำเภอท่าแร่  จังหวัดสกลนคร  โทร.๐๑ - ๒๑๒๐๘๐๔
                        ๓.๓  ศูนย์เกิดใหม่ (ชาย) อำเภอจอมบึง  จังหวัดราชบุรี  โทร. (๐๓๒) ๒๖๑๐๓๘ - ๔๐
                        ๓.๔  ศูนย์เกิดใหม่ (หญิง) อำเภอบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (๐๓๘) ๕๔๑๖๙๓
                        ๓.๕  บ้านสันติสุข  อำเภอหนองใหญ่  จังหวัดชลบุรี  โทร. ๐๑ - ๒๑๘๑๓๔๓
                        ๓.๖  บ้านตะวันใหม่  อำเภอบางบ่อ  จังหวัดสมุทรปราการ โทร. ๐๑ - ๒๑๐๑๕๗๓
                        ๓.๗  บ้านนิมิตใหม่  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (๐๕๓) ๒๗๗๐๔๙, (๐๕๓) ๒๘๒๔๙๕
๑๑. วิธีการแจ้งข่าวสารยาเสพติด
            การให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารยาเสพติด  เพื่อปราบปรามแหล่งผลิต แหล่งค้า แหล่งจำหน่าย และแหล่งมั่วสุมยาเสพติด  เพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินการตามกฎหมายนั้น นับเป็นการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทางราชการและประเทศชาติ  แต่ขณะเดียวกัน การกระทำดังกล่าวควรปฏิบัติด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง  เพื่อมิให้ถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุมด้วย ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ผู้แจ้งข่าวสารสามารถเลือกปฏิบัติได้ ๒ วิธีคือ
                ๑.  แจ้งข่าวสารโดยไม่เปิดเผยตนเอง  กรณีนี้  ผู้แจ้งสามารถแจ้งข่าวสารต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทุกสถานีทั่วประเทศ หรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่  ปปส.  โดยทำเป็นจดหมาย ไม่ต้องระบุชื่อผู้แจ้ง แต่ต้องให้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในการสืบสวน  ติดตาม  กล่าวคือ ข้อมูลที่ให้ต้องครอบคลุมคำถามว่า ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างชัดเจน
                ๒.  แจ้งข่าวสารโดยแสดงตัวผู้แจ้ง  โดยผู้แจ้งต้องมั่นใจได้ว่า ผู้รับแจ้งนั้นต้องสามารถเก็บความลับได้ และให้ความคุ้มครองแก่ผู้แจ้งได้  หากถูกคุกคามจากอิทธิพลของผู้ถูกจับกุม ทั้งนี้เพื่อขอความคุ้มครอง  และแจ้งรายละเอียดของผู้ที่คุกคาม ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฏหมายต่อไป
๑๒. สถานที่รับแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด
            ผู้แจ้งข่าวสาร สามารถติดต่อแจ้งข่าวยาเสพติด ได้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                    ๑๒.๑  ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด  โทร.สายด่วน  ๐๒ - ๑๖๘๘
                    ๑๒.๒  กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โทร. ๐ - ๒๒๕๑ - ๒๗๒๖  และ  ๐ - ๒๒๕๒ - ๗๙๖๒
                    ๑๒.๓  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ถนนดินแดง เขตพญาไท  กทม.  ๑๐๔๐๐  โทร. ๐ - ๒๒๔๕ - ๙๔๑๔,  ๐ - ๒๒๔๗๐๙๐๑ - ๑๙ ต่อ ๒๕๘  หรือโทรสาร ๐ - ๒๒๔๗ - ๗๒๑๗
                    ๑๒.๔  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคกลาง  ถนนดินแดง  เขตพญาไท  กทม. ๑๐๔๐๐  โทร. ๐ - ๒๒๔๕ - ๙๙๕๒, ๐ - ๒๒๔๕ - ๓๙๗๒  หรือ  โทรสาร  ๐ - ๒๒๔๕ - ๙๕๒
                    ๑๒.๕  ตู้ ป.ณ.๑๒๓  สามเสนใน  กทม. ๑๐๔๐๐
                    ๑๒.๖  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ  บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่  ถนนโชตนา  อำเภอเมือง ฯ  จังหวัดเชียงใหม่  ๒๐๑๘๐  โทร. (๐๕๓)  ๒๑๑๗๙๓, (๐๕๓) ๒๑๒๐๒๘  หรือ โทรสาร (๐๕๓) ๒๑๑๘๐๘ และ (๐๕๓) ๒๑๑๗๘๐
                    ๑๒.๗  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคใต้  ๔๓๔  ถนนไทรบุรี  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  โทร. (๐๗๔) ๓๑๒๐๘๘, (๐๗๔) ๓๒๓๓๐๐  หรือ โทรสาร (๐๗๔) ๓๒๑๕๑๔
                    ๑๒.๘  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามที่ทำการป่าไม้เขต  ถนนหน้าศูนย์ราชการ  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ๔๐๐๐๐  โทร. (๐๔๓) ๒๔๑๐๒๙, (๐๔๓) ๓๔๔๔๒๐ หรือ โทรสาร (๐๔๓) ๒๔๖ - ๗๙๐

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล