10 ความรู้เรื่องเอดส์

by kadocom @15-11-56 13.59 ( IP : 203...37 ) | Tags : มุมวิชาการ
photo  , 350x210 pixel , 21,125 bytes.

สภากาชาดไทยให้ความรู้เรื่องเอดส์และการตรวจเอดส์ ไว้หลายประการ ดังนี้

  1. เอดส์ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และการใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้อื่น

  2. เอดส์ สามารถป้องกันได้โดยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือโดยการเลิกเสพยา หรือโดยการใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดทุกครั้งที่เสพยา แต่ก็มีคนไทยติดเชื้อใหม่ปีละเกือบ 200,000 รายคนที่ติดเชื้อใหม่ติดมาจากคนที่ติดเชื้ออยู่ก่อน แต่ไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยไปตรวจ หรือไม่มีอาการอะไร

  3. คนที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการอะไรเลยเป็นปีๆ หรืออาจมีอาการป่วยขึ้นมากะทันหัน จนเสียชีวิตได้

  4. การตรวจ Anti - HIV เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหาเชื้อเอชไอวี (เอดส์) โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ สามารถตรวจพบได้หลังจากรับเชื้อมาแล้ว 2-6 สัปดาห์

  5. ถ้าอยากตรวจพบให้เร็วขึ้น เช่นภายหลังรับเชื้อมาเพียง 3-7 วัน ต้องตรวจด้วยวิธี Nucleic Acid Technology (NAT) ปัจจุบันคลินิกนิรนามให้บริการตรวจด้วยวิธี NAT ทุกราย ถ้าการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) ด้วยวิธีแรกแล้วไม่พบ6.การติดเชื้อคนไทยทุกคน ทุกสิทธิ สามารถตรวจหา Anti - HIV ได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศไทย โดยตรวจฟรีได้ปีละ 2 ครั้ง ตามชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

  6. ใครบ้างที่ควรตรวจเอดส์? ทุกคนที่ติดยาเสพติดโดยการฉีด และทุกคนที่เคย หรือกำลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยแม้เพียงครั้งเดียว ทั้งกับคนที่รู้จัก (เช่น สามี หรือภรรยาของตัวเอง) หรือไม่รู้จัก ถือว่ามีพฤติกรรมที่มีโอกาสติดเอดส์ เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่เรามีเพศสัมพันธ์ด้วยนั้นเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเอดส์มาก่อนหรือเปล่า ดังนั้น ว่าไปแล้วคนเกือบทุกคนสมควรจะตรวจเอดส์อย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต

  7. ก่อนการตรวจเอดส์ทุกครั้ง ผู้ตรวจควรมีข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์และการตรวจเอดส์ ซึ่งอาจหาได้จากการขอรับคำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือหาอ่านได้จากแหล่งข้อมูล เช่นสายด่วน 1663 หรือที่ www.trcarc.org หรือ www.adamslove.org

  8. ปัจจุบัน คนที่ติดเชื้อไม่ต้องป่วย หรือเสียชีวิตจากเอดส์อีกแล้ว ถ้ารู้ตัวแต่เนิ่นๆ และรักษาแต่เนิ่นๆ ถ้ารู้ตัวเร็วและรักษาเร็ว อาจไม่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต

  9. คนที่ติดเชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นได้ โดยไม่เป็นภัยหรือเป็นภาระกับใครจึงเป็นประโยชน์และไม่น่ากลัวที่เราจะไปตรวจเอดส์กัน

อย่างน้อยก็สักครั้งในชีวิต ตรวจเพื่อให้รู้ว่าเราไม่ติดเชื้อ ชีวิตจะได้ก้าวไปอย่างมั่นใจ

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล