วัตถุกันเสีย อันตรายเสี่ยงไตพัง

by kadocom @15-8-56 09.05 ( IP : 203...37 ) | Tags : มุมวิชาการ
photo  , 400x204 pixel , 25,644 bytes.

ไลพ์สไตล์ที่เร่งรีบของคนเมืองส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งอาหารปรุงสำเร็จ ที่มักถูกเก็บรักษาหรือยืดอายุไว้ด้วยสารกันบูด ซึ่งเชื่อว่ามีผู้บริโภคน้อยคนที่จะทำให้ความสำคัญกับส่วนผสมในอาหารที่เรากินในแต่ละวัน ว่าจะส่งผลทางสุภาพร่างกายเราอย่างไรบ้าง วันนี้เลยอยากจะชวนคุณหันมาทำความรู้จักกับส่วนผสมในอาหารอย่าง “สารกันบูด” กันหน่อย


เจ้าวัตถุกันเสีย หรือที่เราคุ้นคึยในชื่อของ สารกันบูด เป็นสารที่ช่วยยืดอายุอาหารไว้ให้เก็บได้นานขึ้น เมื่อใส่ลงไปในอาหารจะช่วยยับยั้งการการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ซึ่งวัตถุกันเสียไม่ได้มีเพียงแต่สารสังเคราะห์เท่านั้น แต่ยังมีสารที่เป็นธรรมชาติ อย่าง น้ำตาล เกลือ และกรด ที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งคนเราได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติที่มาช่วยยืดอายุอาหารโดยการหมัก ดอง เพื่อถนอมอาหารไว้ได้นานขึ้น


สำหรับสารสังเคราะห์ที่มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ที่เราคุ้นหู หรือเห็นกันบ่อยๆ บนฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต หรือเรียกว่า สารกันบูด กรดซอร์บิก เกลือซอร์เบต กรดโพพีโอนิก และเกลือโพพีโอเนต หรือชื่อทั่วไปคือ สารกันรา และสารประกอบไนเตรต ไนเตรต ซึ่งคือ ดินประสิว


นอกจากนี้ ยังมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเดกลือซัลไฟต์ เพียงแค่ชื่อ ก็แอบทำให้เวียนหัว เอาเป็นว่าวัตถุกันเสียแต่ละชนิดแตกต่างกัน ซึ่งอาหารสำเร็จรูปล้วนแล้วแต่มีวัตุกันเสียปนอยู่มากมาย


หลายๆ คนคงสังสัยว่า หากเรากินอาหารที่ปนเปื้อนสารกันบูดมากๆ จะมีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่


หากปริมาณสารกันบูดในอาหารมีปริมาณตามที่กฏหมายอนุญาตให้ใช้ ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด ก็ไม่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ เพราะการกำหนดปริมาณนั้นต้องผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ว่าในแต่ละวันหากร่างกายได้รับสารกันบูดในปริมาณนี้ จะสามารถกำจัดออกได้หมด โดยไม่เหลือสารตกค้างสะสมในร่างกาย จึงไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว แต่ถ้าหากได้รับเกินปริมาณที่กำหนด ร่างกายอาจไม่สามารถกำจัดออกได้หมด ทำให้ตับและไตต้องทำงานหนักเพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้


อย่างไรก็ตาม อาหารที่ปรุงสดใหม่ย่อมให้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่าอาหารที่ผ่านการเก็บรักษาไว้นานๆ


เมื่อรู้แบบนี้ เราในฐานะผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจในการบริโภค ฉลาดเลือก ฉลาดซื้อ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองด้วย



ที่มา : หนังสือพิมพ์เอ็มทูเอฟ http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/35982

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล