หายใจแบบ Slow motionพร้อมรับปัญหา พิชิตเครียด

by kadocom @5-10-55 09.12 ( IP : 203...35 ) | Tags : มุมวิชาการ
photo  , 285x145 pixel , 67,503 bytes.

ปัญหาและสิ่งที่ท้าทายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเสมอ โดยอารมณ์วิตกกังวลจะเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เราแก้ ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่นิ่งนอนใจมากเกินไป เปรียบ เหมือนสตาร์ตเครื่องยนต์ให้เดินหน้า แต่ปัญหาของหลายคนไม่สามารถปิดเครื่อง หรือสวิตช์ค้างไว้ ทำให้มีอา รมณ์วิตกกังวลมากเกินไป

อารมณ์วิตกกังวลที่มากเกินไปส่งผลต่อความสามารถของสมอง ทำให้ทำงานได้ลดลง ไม่สามารถตัดสินใจและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้

  • การหายใจที่ดีมีส่วนช่วยลดภาวะวิตกกังวล การหายใจยาวถูกควบคุมด้วยระบบประสาทที่ทำงานให้ร่างกายผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ลดลง

  • ความวิตกกังวลที่มาก เกินไปมีผลต่อสมาธิ ความจำ ทำให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ลดลง

  • ความเครียดทำให้ความจำไม่ดี แม้แต่เด็กถ้าเครียดก็ส่งผลให้การเรียนไม่ดีด้วยเช่นกัน ในผู้หญิงอาจแสดงออกถึงความกังวล ด้วยการบ่น ซึ่งเป็นการดู แลตนเองอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง

วิธีจัดการกับความฟุ้งซ่าน

  1. ฝึกการรู้ตัว รู้ทันอารมณ์ ถามตนเองว่ากำ ลังรู้สึกอย่างไร เมื่อเรารู้ว่ารู้สึกอย่างไร และยอมรับคนที่ชอบบ่น อาจจดบันทึกอารมณ์ทุกครั้งที่บ่น

  2. ฝึกหายใจแบบ Slow motion เพื่อให้การหายใจเข้าและออกสมดุล โดยการหาเก้าอี้นั่งสบายๆ หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ หายใจเข้าให้รู้สึกว่าหน้าท้องขยายขึ้น หายใจออกรู้สึกว่าหน้าท้องแฟบ ต่อมาหายใจเข้าออกช้าๆ หายใจเข้านับ 1-5 ก่อนลมหายใจออก สังเกตการหยุดนิ่งของการหายใจสักครู่ แล้วหายใจออกช้าๆ นับ 1-5

ผลของการฝึกหายใจ

  • กระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

  • การขยายตัวของหลอดเลือดฝอย สำหรับคนที่มึนงง เวลา เครียด ควรฝึกวันละ 15 นาที

  • กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทั้งกล้ามเนื้อหน้าผาก กล้ามเนื้อคอ คนที่แบกภาระมากมักมีความเจ็บปวดตามบ่าและไหล่

  • จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน การหายใจแบบนี้เป็นทักษะใหม่ของร่างกาย ควรฝึกติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์ เมื่อฝึกบ่อยๆ สมองจะสั่งงานให้ร่าง กายและจิตใจสงบได้อย่างรวด เร็ว ทำให้ร่างกายมีพลัง สมองแจ่มใส สำหรับการจัดการอารมณ์ ความเครียดนั้น เนื่องจากปัจจุบันชีวิตประจำวันของเราเต็มไปด้วยความรีบเร่ง ทำให้สมาธิและสติในชีวิตประจำวันของเรามีน้อยลง คนที่มีสมาธิและสติที่ดีจะมีโอกาสรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ทำให้การควบคุมอารมณ์ทำได้ดีขึ้น ปัญหาในชีวิตที่เกิดจากการขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ก็จะลดน้อยลง การใช้วิธีนับ 1-10 หรือการออกจากสถานที่ที่ทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดโอกาสเกิดการระเบิดอารมณ์ได้

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียดได้คือ การหาความรู้เพิ่มเติมด้านจิตวิทยาและศาสนา เพื่อเพิ่มมุมมองชีวิต มุมมองปัญหาได้กว้างขึ้น เมื่อชีวิตต้องประสบกับปัญหาก็สามารถมองเห็นทางเลือกสำหรับทางออกได้มากขึ้นกว่าเดิม โอกาสที่จะรู้สึกว่าเกิดทางตัน ท้อแท้ หรือโกรธแค้นก็น้อยลง ความสามารถคิดหรือมองโลกในแง่บวก และการให้อภัยจะทำได้ดีมากขึ้น

ผู้เขียนหวังว่าคำแนะนำในบทความนี้จะช่วยให้หลายคนที่ตกอยู่ในภาวะเครียดท่ามกลางสังคมไทยที่สับสนวุ่นวายสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและคนรอบข้างได้ เป็นการตัดวงจรเครียดก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงน่าสลดใจตามมา

ท้ายนี้ตัวเราย่อมดูแลและทะนุถนอมตนเองได้ดีที่สุด หากยังไม่สามารถดูแลตนเองหรือรู้สึกอ่อนแอมาก การขอความช่วยเหลือและคำปรึกษาจากผู้รู้เป็นสิ่งที่ดีกับชีวิต เมื่อผ่านปัญหาไปแล้วเราจะได้ความเข้มแข็งและได้เรียนรู้ สิ่งใหม่เป็นรางวัลเสมอกับทุกปัญหา

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล