ภัยร้ายจาก 'อารมณ์' แปรปรวนสองขั้ว

by kadocom @3-4-55 09.05 ( IP : 203...35 ) | Tags : มุมวิชาการ
photo  , 285x145 pixel , 61,681 bytes.

มีท่านผู้อ่านส่งเมล์เข้ามาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งมีอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ทำงานด้วยลำบาก วันนี้ยิ้มร่าเริง ขยันทำงาน มีอะไรก็เข้ามาช่วยเหลือ แต่อีกวันกลับทำหน้าบึ้ง ไม่พูดไม่จา ทำอย่างกับไปโกรธใครที่ไหนมา ทำให้ทำตัวไม่ถูก หลายครั้งก็เกิดปัญหากระทบกระทั่งกัน

หลายคนอาจมองว่าอาการหรือการแสดงออกแบบนั้นเป็นเรื่องปรกติ อาจ เครียดเรื่องงานหรือครอบ ครัวก็ได้ แต่จริงๆแล้วเท่าที่ได้ฟังข้อมูลมา เพื่อนร่วมงานของผู้อ่านที่ส่งเมล์เข้ามาน่าจะเข้าข่าย "ไบโพ ลาร์" ที่มาจากคำว่า "bi" แปลว่าสอง และ "polar" ที่แปลว่าขั้ว รวมแล้วก็แปลว่าโรคสองขั้ว และสิ่งที่ถูกแบ่งเป็นสองขั้วก็คือ อารมณ์ คำที่ใช้เป็นทาง การในภาษาไทยคือ "โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว" ซึ่งฟังแล้วให้ความรู้สึกว่าคนที่เป็นมีอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้าย ประเดี๋ยวดูดี อีกประเดี๋ยวกลายเป็นยายแม่มด แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจว่าคำว่าอารมณ์หมายถึงพื้นอารมณ์ซึ่งมีอยู่สองแบบคือ สุขารมณ์ และ ทุกขารมณ์ สุขารมณ์ได้แก่ อารมณ์สดชื่น รู้สึกสุข มองโลกในแง่ดี ซึ่งตรงข้ามกับทุกขารมณ์ พื้นอารมณ์ทั้งสองแบบนี้เชื่อว่าทุกท่านรู้จักดี โดยปรกติพื้นอารมณ์เราไม่ได้ราบเรียบเหมือนแผ่น กระจก แต่กระเพื่อมขึ้นลงเหมือนระลอกคลื่นบนผิว น้ำ จึงรู้สึกสุขบ้างทุกข์บ้างตามภาวะแวดล้อม แต่การขึ้นลงของอารมณ์มีพิกัดที่ยอมรับว่าเป็นปรกติอยู่ คนที่เป็นโรคคือคนที่อารมณ์ขึ้นลงเกินพิกัดปรกติมากและนานเกินกว่าจะอธิบายด้วยเหตุจากสภาวะที่มากระทบ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าอาการที่สำคัญของโรคอารมณ์แปร ปรวนสองขั้วคือ มีความรู้สึกสุขมาก หรือทุกข์มากเกินไป นานเกินไป เช่น นานเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นเดือนๆ โดยไม่มีเหตุผล จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนคนนั้นหรือบุคคลรอบข้าง

อารมณ์สุขถึงขั้นที่เรียกว่า "คึก" หรือทุกข์ถึงขั้นที่เรียก ว่า "เศร้า" อาจเกิดขึ้นพร้อมๆกัน แต่ส่วนใหญ่เป็นคนละช่วงเวลา คนที่เป็นโรคจะมีอาการคึก อาการเศร้า และช่วงเวลาที่มีอารมณ์ปรกติสลับกันไปมา ถ้ามีช่วงปรกติสั้นแปลว่าคนคนนั้นมีการกำเริบของโรค ถี่กว่าคนที่มีอารมณ์ปรกติอยู่ได้นาน

ในระยะคึก ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีมาก พูดเก่ง คุยเก่ง แต่มักคุยไม่จบเรื่องเพราะความคิดวิ่งเร็วเกินไป มักคิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือคนอื่น จากอารมณ์ดีก็กลายเป็นฉุน เฉียว ก้าวร้าว เพราะถูกขัดใจ ผู้ป่วยหลายคนใช้เงินเก่ง ช็อปกระหน่ำ เล่นการพนัน หรือแม้แต่การหาเรื่องชกต่อย บ้าพลัง ซึ่งอาจถูกทำร้ายร่างกาย พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่นำความวิบัติมาสู่ชีวิตได้

ในทางกลับกันระยะเศร้าจะมีลักษณะต่างๆตรงข้ามกับระยะคึก ผู้ป่วยรู้สึกไม่สดชื่น เศร้า ท้อแท้ ความคิดไม่แล่น ไม่อยากทำอะไร บางครั้งก็ฉุน เฉียวหงุดหงิด เพราะมีแต่ความรู้สึกลบกับชีวิต หนักๆ เข้าก็คิดอยากตาย จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย แต่สิ่งที่เหมือนกันระหว่างคึกกับเศร้าคือ นอนไม่หลับอย่างมาก ซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือติดยาเสพติดในเวลาต่อมา

โดยพื้นฐานแล้วอารมณ์ของคนปรกติทั่วไปจะมีอาการเศร้าเนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจหรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป โดยปรกติแล้วจะมีระยะเวลา 1-6 เดือน ถ้าหากเกินกว่านั้นถือว่าเข้าข่าย ผิดปรกติ ซึ่งบุคคลรอบข้างหรือ ใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการของคนในครอบครัวด้วย

สาเหตุของโรค

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วไม่ได้มีอาการชัดๆแบบนี้ทุกคน แถมยังไม่มีการทดสอบจากห้องปฏิบัติการมาช่วย บางครั้งจึงทำให้วินิจฉัยยากมาก แต่ โชคดีที่ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้โรคนี้สา มารถบำบัดให้กลับมาเป็นปรกติได้ การสังเกตอาการแต่เนิ่นๆและยอมรับการรักษาอย่างจริง จังจากผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจัดเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาโรคนี้

สาเหตุของโรคไบโพลาร์แท้จริงแล้วเกิดจากความผิดปรกติทางสมอง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดย สารเคมีที่เป็นตัวควบคุมเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์มีความเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจถ่ายทอดได้จากพันธุกรรม ส่วนเรื่องของปัจจัยภายนอกด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆจะเป็นตัวเร่งทำให้ภาวะของโรคเกิดและเห็นได้เร็วขึ้น เช่น ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพราะทำให้เกิดความเครียด ส่งผลให้อาการของโรคปรากฏออกมา

การป้องกันรักษา

สำหรับวิธีการป้องกันและ รักษาในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เพราะ ต้นตอของโรครู้ได้ชัดว่าเกิดจากปัจจัยทางชีววิทยาด้านสารเคมีในสมอง เมื่อทราบว่าสารเคมีตัวไหนขาดหรือมีมากเกินไปแพทย์จะแก้ไขตรงจุดโดยให้ยาไปควบคุมสารเคมีตัวนั้นกับผู้ป่วย นอกจากนั้นก็อาศัยวิธีรัก ษาด้วยการใช้กิจกรรมบำบัด โดย แพทย์จะให้ความมั่นใจกับผู้ป่วย ว่าถ้าหากมีวินัยในการรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำ เสมอจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปรกติ แต่บางรายที่มีอาการหนักอาจต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข โดย นพ.โกวิทย์ นพพร

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล