เด็กติด ‘ทีวี’ ทำพัฒนาการถดถอย

by kadocom @2-6-52 14.06 ( IP : 202...18 ) | Tags : มุมวิชาการ
photo  , 200x200 pixel , 39,689 bytes.

ปัจจุบันสื่อต่างๆ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อเด็กๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ เกม หรืออินเทอร์เน็ต คุณครูยอมรับนะคะว่าสื่อเหล่านี้ไม่ได้มีแต่โทษ แต่ก็มีด้านที่เป็นประโยชน์แก่เด็กด้วย แต่ก็อยู่ว่าผู้ปกครองจะกลั่นกรองอย่างไรให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้นอย่างเต็มที่ค่ะ ในวันนี้คุณครูขอพูดถึงสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่ใกล้ตัวมากสำหรับเด็กๆ ค่ะ


          เนื่องจากปัจจุบันมีการทำรายการเด็กๆ มาหลายรูปแบบจึงอาจทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิดว่าหากเลือกรายการให้เหมาะสมแล้ว โทรทัศน์จะไม่มีผลเสียกับเด็กๆ แต่ผลเสียของโทรทัศน์ต่อเด็กๆ ไม่ใช่เป็นผลเสียแต่เฉพาะในเรื่องเนื้อหารายการเท่านั้น แต่มีผลเสียอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อาจคาดไม่ถึงด้วย


          ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือการทำให้เด็กเป็นสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจเข้าใจผิดว่าการที่ลูกสามารถนั่งจ้องทีวีอยู่เป็นเวลานานๆ คือการที่ลูกมีสมาธิดี แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เด็กสนใจมอง คือ สี ภาพต่างๆ ที่เป็นช่วงสั้นๆ ต่อๆ กัน การดูโทรทัศน์จึงไม่ได้ช่วยยืดสมาธิของเด็กเลย และกลับทำให้เด็กๆ มีสมาธิในกิจกรรมอื่นๆ ลดลงด้วย


          งานวิจัยจากหลายสถาบันชี้ให้เห็นตรงกันว่า โทรทัศน์แทบไม่มีประโยชน์เลยสำหรับเด็กวัยก่อน 2 ขวบ เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังต้องการการเรียนรู้จากของจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า การดูโทรทัศน์จึงไม่ได้ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเท่าที่ควร นอกจากนั้นโทรทัศน์ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว (Oneway Communication) อาจยิ่งส่งผลให้เด็กที่พัฒนาการทางด้านภาษาช้า เนื่องจากไม่ได้มีความจำเป็นที่จะโต้ตอบทางภาษา


          เด็กวัยนี้ยังต้องเรียนรู้ผ่านการสื่อสารสองทางค่ะ (Twoway Communication) หากคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกวัยก่อน 2 ขวบมีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กๆ ดูโทรทัศน์ละก็ คุณครูขอแนะนำให้พยายามให้เกิดการสื่อสารสองทางขึ้นระหว่างการดูค่ะ ผู้ปกครองต้องคอยชี้ชวนพูดจาซักถามเด็กๆ ถึงแม้น้องบางคนจะยังพูดไม่ได้แต่เขาก็นับว่าเป็นการกระตุ้นทางภาษาที่ดีค่ะ


          เมื่อเด็กอยู่ในวัยที่เริ่มดูโทรทัศน์ได้ (23 ขวบ ไม่เกิน 15 นาที, 35 ขวบ ไม่เกิน 30 นาที, 68 ขวบ ไม่เกิน 1 ชม.) นอกเหนือจากเนื้อหาสาระรายการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรกำหนดกฎเกณฑ์ในการดูทีวีด้วย เช่น เด็กๆ จะต้องทำการบ้านให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงดูทีวีได้ หรือเด็กๆ ต้องปิดทีวีตอนกินข้าว เป็นต้น


          อยากจะฝากไว้อีกนิดในส่วนของเนื้อหารายการค่ะ นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะสกรีนเนื้อหารายการแล้ว คุณครูอยากจะฝากให้สกรีนในส่วนของโฆษณาด้วย เพราะครูเคยเห็นรายการเด็กบางรายการที่เนื้อหาดีมากๆ แต่เมื่อโฆษณาคั่นรายการกลับใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม เด็กๆ ของเรายังอยู่ในวัยฟองน้ำค่ะ ไม่ว่าโฆษณาจะสั้นแค่ไหนเด็กๆ ก็จดจำได้


          ข้อเสียของทีวีที่คุณครูพูดถึงนั้นเป็นผลกระทบแค่ในส่วนของพัฒนาการเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วทีวียังส่งผลกระทบทั้งทางสังคม (เด็กไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) สุขภาพ (เด็กเป็นโรคอ้วนเพราะไม่ทำกิจกรรมอื่นๆ) อารมณ์ (เด็กสร้างโลกส่วนตัวไม่เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น)


          ผู้ปกครองบางท่านอาจมองว่าการให้ลูกดูทีวีในเวลาจำกัดเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริงยาก เพราะช่วงที่ลูกดูทีวีมักจะเป็นช่วงเวลาไม่กี่ช่วงที่ผู้ปกครองได้พักผ่อน หรือเด็กๆ อาจติดทีวีไปแล้ว เราก็ต้องหากิจกรรมอื่นๆ มาดึงดูดความสนใจเด็กๆ ออกจากทีวีค่ะ


          ครูเชื่อว่าเด็กๆ ย่อมอยากทำกิจกรรมกับพ่อแม่มากกว่าการนั่งจ้องทีวีแน่ๆ ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าจริงๆ






ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

http://www.thaihealth.or.th/node/9169

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล