ชี้โลกไซเบอร์ตัวทำร้ายเด็ก แนะพ่อแม่ต้องฝึกอ่านใจลูก

by kadocom @9-8-50 12.01 ( IP : 58...178 ) | Tags : มุมวิชาการ

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า สังคมไอทีหรือโลกไซเบอร์ เป็นเครื่องมือสร้างความสุขได้ และทำให้พฤติกรรมต่างๆ ของเด็กเปลี่ยนไป เช่น เด็ก 1 คน กว่าจะจบการศึกษา มีอายุประมาณ 170,000 ชั่วโมง เด็กใช้เวลานอน ประมาณ 70,000 ชั่วโมง ใช้เวลาดูทีวีกว่า 20,000 ชั่วโมง ใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือ กว่า 10,000 ชั่วโมง ใช้เวลาเล่นเกมและอินเทอร์เน็ต กว่า 20,000 ชั่วโมง และใช้เวลาอ่านหนังสือ น้อยกว่า 5,000 ชั่วโมง

รศ.ยืน กล่าวอีกว่าสำหรับตัวแปรที่ทำให้เด็กชอบอยู่ในสังคมไอที ได้แก่

  • การเข้าสังคม การอยู่ร่วมกัน การเข้ากลุ่ม การคบหากับตัวละครอื่นที่ปรากฏอยู่ในโลกไซเบอร์
  • ไม่ชอบกฎเกณฑ์ การอยู่ในไซเบอร์ที่แยกตัวออกจากโลกแห่งความเป็นจริง ไม่เคารพกฎเกณฑ์
  • สวมบทเล่นวิถีชีวิตในไซเบอร์ให้เป็นตัวตนเหมือนมีชีวิตจริง
  • การหวังเอาชนะจริงจัง โดยไม่คำนึงว่าจะอยู่ในกฎของกลุ่มสังคมหรือไม่
  • การเน้นที่สิ่งของและระดับความสามารถ เป็นพวกวัตถุนิยม
  • ดับชั้น วิถีชีวิตในโลกไซเบอร์เน้นการรับฟังคำสั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลไปยังพฤติกรรมทำให้เด็กในขณะนี้ ต่างจากเด็กเมื่อก่อน

ด้าน น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การชะลอไม่ให้เกิดปัญหาทางจิต พ่อแม่ต้องรู้จักอ่านใจลูก เพราะถึงไอทีจะสอนให้ลูกอ่านออกเขียนได้ ก้าวทันโลก แต่ไม่ได้ทำให้พ่อแม่เข้าใจลูกว่าเกิดผิดปกติอย่างไร


ขอบคุณที่มา http://www.arip.co.th/2006/news.php?id=406685

นายแพทย์ธวัช ลาพินี ผู้อำนวยการโรงพยาบาล